สิ่งที่เรามอบให้
การขยายตลาดพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย
บริษัท Ecopia Energy จำกัด ดำเนินการตามโครงการต่างๆ ของรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบของไทยอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับวิธีการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยที่จะนำไปใช้ในนโยบายและระเบียบข้อบังคับระดับชาติ ซึ่งทำให้เราพร้อมที่จะนำเสนอระบบที่เป็นที่ต้องการเมื่อตลาดพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยเข้าสู่วาระใหม่ เรานำเสนอระบบและให้บริการพลังงานหมุนเวียนด้วยการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (สายส่ง) เราดำเนินโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมและสายการผลิต อาคารพาณิชย์ ชุมชน อาคารอสังหาริมทรัพย์ต่าง และระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง (Off-Grid) อีกด้วย
การการดำเนินงานของเรา
การพัฒนาโครงการแบบระบบผสมผสานสแกนดิเนเวีย (Scandinavian Touch)
เราให้บริการระบบการจัดการพลังงานหมุนเวียน 4 ประเภท โดยแบ่งธุรกิจต่าง ๆ ออกเป็น 6 กลุ่ม การริเริ่มระบบพลังงานหมุนเวียนของเรามีต้นกำเนิดมาจากการมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสังคมไทย ธุรกิจ และตลาดพลังงานต่างๆ ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางจากการพัฒนาโครงการต่างๆเช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ แบบมีแบตเตอรี่ และพลังงานลมในภูมิภาคสแกนดิเนเวียรวมถึงบางพื้นที่ของแอฟริกาอีกด้วย เราผสมผสานวิธีการดำเนินงานและคุณภาพด้านอุตสาหกรรมเทคนิคของยุโรปเข้ากับผู้เชี่ยวชาญและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทยให้แก่โครงการของเรา บริษัท Ecopia Energy จำกัด นำเสนอโครงการที่สามารถสร้างผลกำไรโดยได้มาตรฐานทางเทคโนโลยีและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทุกโครงการมีความตรงตามมาตราฐานในทุกด้านและสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละโครงการอีกด้วย
ทางเลือกด้านพลังงานหมุนเวียนของเรา
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) แบบติดตั้งอิสระ ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สำหรับระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินและบนหลังคาขนาดต่าง ๆ ระบบกักเก็บพลังงานแบบผสมผสานที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานจากแบตเตอรี่ได้เป็นจำนวนมาก
ระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน Solar farm
ระบบสำหรับการทำเกษตรกรรม (การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์) โดยเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ แต่สามารถใช้ร่วมกันได้ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงนั้นๆ รวมถึงสามารถให้บริการพลังงานไฟฟ้าแก่โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนนอกโครงข่ายไฟฟ้า โครงการนี้เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ
ลอยน้ำในแต่ละขนาดอีกด้วย
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา Rooftop
ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับอาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรม ชุมชนนอกโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง การรวมถึงครัวเรือนอิสระเพื่อการดำเนินโครงการพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนที่ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง (On-Grid) และระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง (Off-Grid)
พลังงานลม Wind power
โครงการผลิตไฟฟ้าทั้งบนพื้นดินและนอกชายฝั่ง โครงการผลิตไฟฟ้านี้เป็นแบบผสมผสาน ระบบไฟฟ้าพลังงานลมในแต่ละขนาดโดยผลิตไฟฟ้าให้แก่อาคารต่างๆและการเกษตรด้วย
บริการของเรา
01 พัฒนาด้านธุรกิจ
เราให้บริการที่หลากหลายด้านการพัฒนาธุรกิจสำหรับธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของคุณ ตัวอย่างเช่น เราสามารถให้คำแนะนำส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับด้านพลังงานหมุนเวียน พร้อมด้วยร่วมมือ ช่วยเหลือด้านพันธมิตร การเงินที่มั่นคง ความช่วยเหลือจากรัฐและเงินทุนอื่น ๆ และการวิจัยตลาดและนโยบาย นอกจากนี้เรายังเปิดรับความร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและนักลงทุนต่าง ๆ ที่สนใจทำธุรกิจด้านตลาดพลังงานหมุนเวียนนี้ให้แก่ประเทศไทย
เราให้บริการด้านต่าง ๆ ของโครงการเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างและการติดตั้งโครงการ รวมถึง การขอใบอนุญาต การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการขอความอนุมัติต่างๆ เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าของเราเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการเราจะดำเนินการแล้วเสร็จตรงต่อเวลาและอยู่ในงบประมาณที่กำหนด พร้อมทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม คุณภาพ และความปลอดภัยในระดับสูงสุด โครงการของเรามีหลายรูปแบบเช่น แบบ FID หรือโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (COD) พร้อมบริการออกแบบทางด้านวิศวกรรมครบวงจรอย่างครอบคลุม (EPC)
02 พัฒนาด้านโครงการ
03 ดำเนินงานและบำรุงรักษา
การดำเนินงานและการบำรุงรักษาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเพิ่มผลผลิตพลังงานและความสามารถในการสร้างผลประโยชน์สูงสุด เราให้บริการด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือผ่านพันธมิตรของเรา รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและแก้ไขปรับปรุงระบบและการติดตั้งเพิ่มเติม และความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถประสบความสำเร็จและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การดำเนินงานและการบำรุงรักษาช่วยเพิ่มผลผลิตพลังงานและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ลดเวลาการหยุดทำงาน และยืดอายุการใช้งานของระบบอีกด้วย
เราทำข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้าอิสระกับบรรดาบริษัทและอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงผู้รับซื้อไฟฟ้ารายอื่นๆ
ที่ต้องการไฟฟ้าที่ผลิตโดยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนี้จะมีราคาต่ำกว่าไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ ซึ้งทั้งนี้อัตรา ราคา ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วย
04 การซื้อขายไฟฟ้าและจัดหาทุน
05 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
องค์กรของคุณต้องการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือไม่ เราสามารถจัดหาหน่วยงานที่ได้รับการรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CERs) แบบอิสระจากโครงการของเรา อีกทั้งยังสามารถเข้าร่วมกับโครงการของเราในโครงการที่ได้รับอนุญาตตามข้อตกลงปารีสข้อ 6
เรามีความเชี่ยวชาญในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เราขายไฟฟ้าโดยตรงให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าอิสระจากโครงการพลังงานหมุนเวียนต่างๆของเรานี้ และสามารถให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆได้ในกรณีที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอ เราจะเข้าร่วมการประมูลในโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (FiT) ในอนาคต
06 การผลิตไฟฟ้า
คำถามที่พบบ่อย FAQ
มีเหตุผลที่น่าสนใจหลายประการว่าทำไมเราจึงควรใช้พลังงานหมุนเวียน:
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: แหล่งพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม และพลังงานจากน้ำก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษทางอากาศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในระหว่างการดำเนินงาน การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนทำให้เราสามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ความมั่นคงด้านพลังงาน: ไม่เหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล แหล่งพลังงานหมุนเวียนมีอยู่มากมายและกระจายอยู่ทั่วไป
- ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ: การเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างงานใหม่และโอกาสทางเศรษฐกิจในภาคพลังงานสะอาด และในขณะเดียวกันก็ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย
- การปรับปรุงคุณภาพอากาศ: การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อการผลิตพลังงานทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพหลายประการ รวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนทำให้เราสามารถลดมลพิษทางอากาศและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนได้
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ: แหล่งพลังงานหมุนเวียนมักจะใช้ทรัพยากรน้อยกว่าแหล่งพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนียั้งสามารถช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- การลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม: การผลิต การขนส่ง และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมันรั่วไหล ก๊าซรั่วไหล และอุบัติเหตุทางท่อ การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้และยังช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
- ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน: แหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่เชื่อถือได้ ราคาต่ำ และเป็นพลังงานสะอาดสำหรับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- การแข่งขันด้านราคา: เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น มื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล กล่าวโดยสรุป การใช้พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและมั่งคั่ง รวมถึงสามารถช่วยจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อสังคม และยังช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นอีกด้วย
แผงโซลาร์เซลล์ (PV) ทำงานโดยการแปลงแสงแดดเป็นไฟฟ้าโดยใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งโดยปกติคือซิลิคอน เมื่อแสงแดดตกกระทบพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ จะมีการกระตุ้นอิเล็กตรอนในอะตอมของซิลิคอน ทำให้อิเล็กตรอนเหล่านั้นหลุดออกจากอะตอมและไหลผ่านวัสดุ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนนี้ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถดักจับและนำไปใช้จ่ายไฟให้กับบ้าน ธุรกิจต่างๆและการใช้งานประเภทอื่นๆ ด้วย
แผงโซลาร์เซลล์ (PV) ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์หลายเซลล์เชื่อมต่อกันเป็นวงจร โซลาร์เซลล์แต่ละเซลล์ประกอบด้วยซิลิคอน 2 ชั้น ชั้นหนึ่งมีอิเล็กตรอนเกินจำนวน (ชนิด N) และอีกชั้นมีอิเล็กตรอนไม่เพียงพอ (ชนิด P) เมื่อซิลิคอนทั้งสองชั้นมีการสัมผัสกันจะเกิดสนามไฟฟ้าระหว่างชั้นซิลิคอนทั้งสอง ซึ่งทำให้อิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ไปยังชั้นอิเล็กตรอนชนิด P ซึ่งชั้นเหล่านั้นจะรวมตัวกับรูอิเล็กตรอนที่ไม่เพียงพอ และสร้างการไหลของกระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยแผงโซลาร์เซลล์ (PV) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งจำเป็นต้องแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ก่อนจึงจะสามารถใช้ในบ้านและธุรกิจส่วนใหญ่ได้ ซึ่งการแปลงกระแสไฟฟ้าต้องใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ซึ่งจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่เข้ากันได้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้า
แผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนและไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษทางอากาศในระหว่างการใช้งาน แต่อุปกรณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด และประสิทธิภาพการทำงานของระบบอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ แสงเงา และตำแหน่งการติดตั้ง
พลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน (อังกฤษ: community solar energy) เป็นรูปแบบหนึ่งของการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่เปิดโอกาสให้คนหลายๆ คนร่วมกันติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ และใช้ประโยชน์ร่วมกัน แทนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Rooftop) ของตนเอง แต่กลับติดตั้งบนพื้นดินต่างๆแทน โดยผู้เข้าร่วมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ร่วมกันในชุมชน (Community solar energy) สามารถซื้อหรือเช่าส่วนแบ่งของการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่นั้นๆ ได้
โดยที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์เอง โมเดลนี้ยังทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม ห้องเช่า หรือในที่ที่หลังคาไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สามารถเข้าถึงการใช้งานของพลังงานแสงอาทิตย์นี้ได้มากขึ้นอีกด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ร่วมกันของชุมชนยังสามารถช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน
การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) หรือที่เรียกว่า ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เหนือแปลงเพาะปลูก (Agrophotovoltaics) หรือ APV เป็นระบบที่ผสมผสานการเกษตรเข้ากับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในระบบนีมี้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้เหนือแปลงพืชผล ทำให้สามารถใช้พื้นที่ดินร่วมกันได้ โดยที่แผงโซลาร์เซลล์ให้ร่มเงาสำหรับพืชผลและลดการระเหยของน้ำในขณะที่พืชผลก็ช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์เย็นลงและลดอุณหภูมิในการทำงาน
การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ :
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน: การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ที่ดินของตนเพื่อการผลิตพืชผลพร้อมกับการผลิตพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อีกด้วย
- เพิ่มผลผลิตของพืชผล: เนื่องจากการปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์สามารถให้ร่มเงาแก่เกษตรกรด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มในการเพาะปลูกที่เกิดจากการสัมผัสกับความร้อนและแสงแดดมากเกินไป ส่งผลให้เกษตรกรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและผลผลิตดังกล่าวมีคุณภาพดีขึ้น
- ลดการใช้นํ้า: เนื่องจากมีการลดการระเหยของน้ำในการปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) สามารถช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและลดความต้องการน้ำของพืชผลอีกด้วย
- ลดต้นทุนค่าแผงโซลาร์เซลล์: การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ได้ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ทั้งเพื่อการเกษตรและการผลิตพลังงานไฟฟ้า
- ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา (Carbon Footprint): การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการทำการเกษตรโดยการจัดหาพลังงานหมุนเวียน และในขณะเดียวกันก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้แหล่งพลังงานรูปแบบดั้งเดิม
ปัจจุบันการปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการดำเนินงานที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตของพืชผล ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ เนื่องจากมีความสนใจในการเกษตรแบบยั่งยืนและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชภายใต้แผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery storage) ทำงานโดยการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม เพื่อนำไปใช้ในภายหลังเมื่อมีความต้องการใช้พลังงานสูงหรือเมื่อไม่มีแสงแดดหรือลม
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ประกอบด้วยแบตเตอรี่สำรองซึ่งทำจากแบตเตอรี่หลายก้อน และระบบจัดการแบตเตอรี่ที่ควบคุมการชาร์จและการคายประจุของแบตเตอรี่เมื่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนผลิตพลังงานได้มากเกินความจำเป็น พลังงานส่วนเกินจะถูกใช้เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ กระบวนการนี้เรียกว่าการชาร์จ
โดยปกติการชาร์จจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันเมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงหรือเมื่อมีลมพัด และเมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นหรือเมื่อไม่มีแสงแดดหรือลม ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่จะปลดปล่อยพลังงานที่เก็บไว้ออกมาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการกระบวนการนี้เรียกว่าการคายประจุระบบจัดการแบตเตอรี่จะตรวจสอบแบตเตอรี่สำรองเพื่อให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่ได้รับการชาร์จและคายประจุในลักษณะที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ โดยระบบจะควบคุมอัตราการชาร์จและการคายประจุเพื่อป้องกันการชาร์จไฟมากเกินไปหรือการคายประจุมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายและมีอายุการใช้งานลดลงได้ นอกจากนี้ระบบยังปรับสมดุลระดับการชาร์จของแบตเตอรี่แต่ละก้อนในแบตเตอรี่สำรองเพื่อให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่ทั้งหมดได้รับการชาร์จและคายประจุเท่ากัน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถใช้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้หลากหลาย ตั้งแต่บ้านอยู่อาศัยไปจนถึงอาคารพาณิชย์และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถให้พลังงานสำรองในช่วงที่ไฟฟ้าดับหรือช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ช่วยทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีเสถียรภาพในการจัดหาแหล่งพลังงานได้ตามความต้องการ และลดความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างพืน้ ฐานด้านโครงข่ายไฟฟ้ าที่มีราคาสูง
โดยสรุปคือระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ทำงานโดยการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ถูกสร้างขึ้นจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อนำมาใช้ในภายหลัง และระบบจัดการแบตเตอรี่จะควบคุมการชาร์จและการคายประจุของแบตเตอรี่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้งานระบบอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
BESS ย่อมาจากระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานประเภทหนึ่งที่ใช้แบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในภายหลัง ทั้งนี้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์และลมกำลังถูกผสมผสานเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า และต้องการระบบกักเก็บพลังงานนี้ด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ประกอบด้วยแบตเตอรี่สำรองตั้งแต่หนึ่งก้อนขึ้นไป ซึ่งทำมาจากเซลล์แบตเตอรี่หลายก้อน แบตเตอรี่จะถูกชาร์จเมื่อมีพลังงานไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งานจริง
โดยปกติพลังงานไฟฟ้าจะได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ พลังงานที่กักเก็บไว้จะถูกจ่ายออกไปยังเครือข่ายไฟฟ้าเพื่อช่วยตอบสนองความต้องการของกำลังไฟฟ้า (Capacity) ของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) สามารถวัดได้จากประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน ซึ่งโดยทั่วไปจะวัดเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kWh) กำลังไฟฟ้าขาออก (กำลังขับ) ของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ซึ่งเป็นอัตราที่สามารถส่งพลังงานไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปจะวัดเป็นกิโลวัตต์ (kW) หรือเมกะวัตต์ (MW) เทคโนโลยี BESS มีข้อดีหลายประการ ได้แก่ :
- ให้พลังงานสำรองในช่วงที่ไฟฟ้าดับหรือในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
- ช่วยผสมผสานแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าโดยทำให้ความผันผวนเปลี่ยนแปลกระแสไฟฟ้าในการจัดหาพลังงานหมุนเวียนเกิดความราบรื่นขึ้น
- ลดความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายไฟฟ้าที่มีราคาสูงโดยการจัดหาแหล่งพลังงานตามความต้องการต่อการใช้งาน
- มีวิธีการกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่สร้างขึ้นในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำเพื่อนำพลังงานที่กักเก็บไว้มาใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) สามารถใช้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้หลากหลาย ตั้งแต่บ้านอยู่อาศัยไปจนถึงอาคารพาณิชย์และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ ด้วยการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นนี้ และความต้องการระบบการจัดเก็บพลังงานที่ยืดหยุ่นและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายวิธี ได้แก่ :
- การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้ า (TOU): ผู้ให้บริการไฟฟ้าหลายแห่งเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าในราคาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวัน และเวลา โดยอัตราค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถใช้เพื่อกักเก็บไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในชณะที่อัตราค่าไฟฟ้าตํ่าลง และจ่ายกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเมื่ออัตราไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้อย่างมาก
- ลดค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้ า (Demand Charge): ผู้ให้บริการไฟฟ้ามักจะเรียกเก็บค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลาที่มีการเรียกเก็บเงิน ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถใช้เพื่อลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด พร้อมลดค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า และลดค่าไฟฟ้าโดยรวมอีกด้วย
- การผสมผสานแบตเตอรี่กับพลังงานหมุนเวียน: ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่สามารถช่วยผสมผสานแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าโดยการจัดเก็บพลังงานส่วนเกินที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงที่มีความต้องการใช้พลังงานตํ่าและจ่ายกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยระบบนี้จะช่วยลดความจำเป็นในการใช้โรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษาระบบ
- หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน: ในบางกรณีอาจมีการใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สำหรับเลี่ยงการปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าที่มีราคาสูง ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการไฟฟ้าสามารถใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด แทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าหรือสายส่งไฟฟ้าใหม่
- จัดเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง: ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถให้พลังงานสำรองระหว่างที่ไฟฟ้าดับ ลดเวลาการหยุดทำงาน ซึ้งช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกล่าวโดยสรุปคือระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงาน ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และผสมผสานแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ธุรกิจและผู้ให้บริการไฟฟ้าต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเพื่อประโยชน์สูงสุดกับด้านพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น
พลังงานลมเป็นพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นจากการควบคุมพลังงานจลน์ของลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า วิธีการทำงานมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- มีการติดตั้งกังหันลมในบริเวณที่มีลมสม่ำเสมอและลมแรง เช่น บนเนินเขา ชะง่อนผา หรือบริเวณนอกชายฝั่ง
- สำหรับโครงสร้างทั่วไป ใบพัดของกังหันลมได้รับการออกแบบให้มีรูปร่างเหมือนปีกเครื่องบินและทำองศาเอียงเป็นมุมเพื่อจับพลังงานจลน์ของลมในขณะที่ลมพัดผ่านกังหัน เมื่อลมพัดมากระทบใบพัด ใบพัดจะเริ่มหมุนกังหันอีกประเภทหนึ่งคือกังหันลมแกนตั้ง
- การหมุนของใบพัดจะให้พลังงานแก่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่อยู่ภายในกังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะแปลงพลังงานกลจากใบพัดที่กำลังหมุนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
- พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมจะถูกส่งไปยังโครงข่ายไฟฟ้าหรือกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในภายหลัง
- ปริมาณไฟฟ้าที่กังหันลมผลิตได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเร็วลม ขนาดของกังหัน และประสิทธิภาพของเทคโนโลยี กล่าวโดยสรุปคือพลังงานลมเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย
Off-Grid หมายถึงระบบหรืออาคารที่ไม่มีการใช้และไม่ได้เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าสาธารณะ ทั้งนี้ระะบบจะผลิตและกักเก็บพลังงานของระบบจากแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสิ้นเปลือง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม พลังน้ำ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล
โดยทั่วไประบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง (Off-Grid) จะใช้ในพื้นที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าสาธารณะเข้าถึง หรือการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้ามีราคาสูงเกินไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้ระบบดังกล่าวเป็นแหล่งผลิตพลังงานที่มี
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง (Off-Grid) สามารถใช้เป็นพลังงานให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทใดก็ได้ตั้งแต่อาคารเดี่ยวไปจนถึงทั่วทั้งชุมชน เป็นระบบสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ หรือสามารถใช้แบตเตอรี่หรืออุปกรณ์ กักเก็บพลังงานประเภทอื่นเพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาที่มีการผลิตสูงขึ้นเพื่อนำพลังงานมาใช้ในช่วงเวลาที่การผลิตไฟฟ้าลดลง การสร้างและการใช้งานระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลาง
ระบบ Off-Grid ทำได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับระบบที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า แต่ระบบดังกล่าวสามารถพึ่งพาตนเองได้มากกว่า โดยมีความยืดหยุ่น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
PPA ย่อมาจากข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้านี้เป็นสัญญาระหว่างผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนกับผู้ซื้อไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งโดยปกติจะเป็นผู้ให้บริการไฟฟ้าหรือนิติบุคคลรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ซื้อตกลงที่จะซื้อไฟฟ้าที่ผลิตโดยโครงการพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดในราคาที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า ซึ้งข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้ามักใช้ในการจัดหาเงินทุนและพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนด้วย เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้และมีผลประโยชน์ในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถกำหนดโครงสร้างของข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้หลายวิธี เช่น ราคาคงที่ ราคาผันแปร หรือราคาตามดัชนี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องด้วย
คาร์บอนเครดิตเป็นหน่วยวัดที่ใช้วัดปริมาณการลดหรือกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ คาร์บอนเครดิตแต่ละรายการแสดงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) หนึ่งเมตริกตันที่ได้รับการหลีกเลี่ยง ลด หรือกำจัดโดยโครงการหรือกิจกรรมหนึ่งๆ ทั้งนี้มีการซื้อและขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอน และสามารถทำการซื้อ และขายโดยบริษัทและบุคคลที่ต้องการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งอาจซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษของตน และบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือบรรลุหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎระเบียบภายใต้แนวทางการกำกับดูแลคาร์บอนเครดิต ซึ้งสามารถเกิดขึ้นได้จากโครงการหรือกิจกรรมหลายประเภทที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า และการดักจับก๊าซมีเทนจากการจัดการของเสีย โครงการ
เหล่านี้ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์เฉพาะและได้รับการรับรองจากมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ เช่น กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ระบบมาตรฐานถูกต้องมีคุณภาพ ซึ้งมีใบรับรองมาตรฐานคาร์บอน (VCS) เพื่อให้แน่ใจว่าคาร์บอนเครดิตนั้นเป็นของจริง มีการเพิ่มเติม วัดผลได้ อย่างแท้จริง พร้อมถาวรตรวจสอบได้อีกด้วย ราคาของคาร์บอนเครดิตอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานในตลาดคาร์บอน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีความต้องการคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรต่างๆ แรงกดดันจากนักลงทุน และนโยบายของ
รัฐบาลที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้คาร์บอนเครดิตถูกมองว่าเป็นกลไกของตลาดในการจูงใจและให้เงินสนับสนุนโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้บริษัทต่างๆ สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซของตนเองได้ด้วย
หน่วยงานที่ได้รับการรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CERs) อิสระหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจหรือ หน่วยคาร์บอนที่ได้รับการรับรอง (VCUs) คือคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการต่างๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) หรือตลาดคาร์บอนตามข้อกำหนดอื่นๆ แต่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระภายนอกแนวทางการกำกับดูแล
CER ย่อมาจากการรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรับรองนี้เป็นคาร์บอนเครดิตประเภทหนึ่งที่ออกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนว Kyoto Protocol
การรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CERs) แสดงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) หนึ่งเมตริกตัน ซึ่งประสบความสำเร็จในโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ในประเทศกำลังพัฒนา การรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CERs) ออกโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) หลังจากที่โครงการ CDM ได้รับการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว และคาร์บอนเครดิตได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้ว
ปัจจุบันไม่มีการออกใบรับรองด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CERs) แล้ว และความตกลงปารีสได้กำหนดกรอบการทำงานปัจจุบันสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความตกลงปารีสข้อ 6 กำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ความตกลงปารีสข้อ 6 Article 6 ได้กำหนดกลไกสามประการสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยมลพิษดังนี้:
- แนวทางความร่วมมือของความตกลงปารีสข้อ 6 ซึ่งอนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันโดยสมัครใจในการดำเนินการตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) โดยใช้กลไกทางการตลาดและกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตลาด
- กลไกการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDM) ของความตกลงปารีสข้อ 6 ซึ่งเป็นกลไกทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่อนุญาตให้ประเทศต่างๆ สามารถสร้างและซื้อขายอัตราการลดการปล่อยมลพิษจากโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ได้
- กลไกข้อ 8 ซึ่งอนุญาตให้ใช้แนวทางที่ไม่ใช่ทางการตลาดเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs)
โครงการของความตกลงปารีสข้อ 6 สามารถอ้างถึงกลไกใดๆ ข้างต้นขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะและเป้าหมายต่างๆ ของโครงการ โดยแต่ละโครงการเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์โดยรวมของความตกลงปารีส Article 6 ซึ่งก็คือการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ้งเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม พร้อมกับความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสอีกด้วย